ฐานที่ 1 กองทุนพัฒนาหมู่บ้านจำรุง

ความเป็นมาของกองทุนพัฒนาหมู่บ้าน

              ปี 2529  ผู้ใหญ่เยือน  ผลงาม ถูกขอร้องจากแกนนำหมู่บ้าน นำโดยครูแฉ่ง     ไกรทอง ครูใหญ่โรงเรียนวัดจำรุง  ให้มารับหน้าที่เป็นผู้ใหญ่บ้าน เพื่อที่จะร่วมกันแก้ปัญหา ผู้ใหญ่เยือน  ผลงาม ตอบตกลง จึงเริ่มมีการพูดคุยถึงปัญหาต่าง ๆ เช่น การขาดงบประมาณในการพัฒนาต่าง ๆ ประชาชนขาดการรวมตัวกัน ผู้คนต่างคนต่างอยู่ เห็นประโยชน์ส่วนตัวมากกว่าประโยชน์ส่วนรวม

     ต่อมาทางราชการได้กำหนดนโยบาย สุขภาพดีถ้วนหน้า กำหนดให้ 4 กระทรวงหลัก ลงมาช่วยทำงานในพื้นที่ระดับหมู่บ้าน ทุกหมู่บ้านต้องผ่านเกณฑ์ที่กำหนด เช่น มีส้วมทุกหลังคาเรือน มีหอกระจายข่าว หรือเสียงตามสาย มีที่อ่านหนังสือพิมพ์ มีศูนย์สาธิตการตลาด ฯลฯ

          มีเจ้าหน้าที่สาธารณสุขสถานีอนามัยบ้านจำรุง ชื่อ หมอบานเย็น ดีนาน ได้ประสานงานและนำนโยบายดังกล่าวมาปฏิบัติ  มีการเรียกประชุมชาวบ้าน ปรึกษาหารือกัน จัดตั้งคณะทำงานและช่วยประสานงาน วางแผนว่าจะต้องจัดตั้งศูนย์สาธิตการตลาด (ร้านค้าชุมชน) ขึ้นมาก่อน และผลักดันนโยบายอื่นตามไป โดยมีความต้องการที่จะนำผลกำไรจากการขายสินค้า มาจัดตั้งเป็นกองทุนพัฒนาหมู่บ้าน เพราะมีฐานคน คือ อสม. และกองทุนยาอยู่แล้ว

          หมอบานเย็น ดีนาน ได้ประสานงานและพาคณะทำงานไปดูงานในหลายพื้นที่ที่ประสบความสำเร็จ และมีชื่อเสียง  ในปี 2530 การระดมทุนจึงเริ่มขึ้น แกนนำหมู่บ้าน อสม.ได้ช่วยกันทำงาน โดยขอร้องให้ทุกครอบครัวซื้อหุ้นร้านค้าชุมชนครอบครัวละ 1 หุ้น เป็นอย่างน้อยและไม่เกิน 20 หุ้น (หุ้นละ 50 บาท)  การระดมทุนครั้งแรกขายหุ้นได้ 665 หุ้น เป็นเงิน 33,250 บาท ศูนย์สาธิตการตลาด (กิจกรรมร้านค้าชุมชน) จึงเริ่มขึ้นและเป็นกิจกรรมแรกของชุมชนที่  ทุกคนเป็นเจ้าของอย่างแท้จริง

          การดำเนินกิจกรรมร้านค้าชุมชน ได้เติบโตขึ้นทุกคนในชุมชนให้ความสนใจกิจกรรมร้านค้าชุมชน ผู้คนในชุมชนมีความรู้สึกเป็นเจ้าของร้านค้า มีงบพัฒนาชุมชนของตัวเองที่เรียกว่างบ “กองทุนพัฒนาบ้านจำรุง”  ในช่วงตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ชุมชนได้ผ่านประสบการณ์การเรียนรู้มาพอสมควร มีความเข้มแข็ง รู้ว่าจะอะไรเหมาะกับชุมชน อะไรไม่เหมาะกับชุมชน  มีการปรับการทำงานเพื่อให้สอดคล้องกับวิถีชีวิต ความเป็นอยู่มาโดยตลอด จากศูนย์สาธิตการตลาดในช่วงเริ่มต้น เป็นกองทุนพัฒนาหมู่บ้านในช่วงต่อมา

          ต่อมาปี 2542 นายอุดม และนางกาญจนา คล่องใจ ได้บริจาคที่ดินจำนวน 1 ไร่ และบ้านสองชั้นอีก 1 หลัง ให้เป็นสมบัติสาธารณะของชุมชน จึงได้ดำเนินการก่อสร้างอาคารหลังใหม่ โดยได้รับงบประมาณเบื้องต้นจากโครงการมิยาซาว่า และต่อมาได้รับงบสนับสนุน ต่อยอดจากโครงการจากกองทุนเพื่อสังคม (SIF)  จากกองทุนพัฒนาหมู่บ้าน    จึงได้ปรับเปลี่ยนเป็นศูนย์การเรียนรู้ของชุมชนและผู้สูงอายุ

                                         มีอะไรในฐานที่ 1

                         ฐานที่ 1  ป็นที่ทำการของหมู่บ้านและเป็นที่ทำการของทุกกลุ่มกิจกรรม

                                                      ร้านค้าชุมชน

                                                      กลุ่ม อสม

                                                      กลุ่มแม่บ้านเกษตร

                                                      ชมรมเปตองฯ

                                                      กลุ่มวัฒธรรม

                                                      กลุ่มผู้สูงอายุ

                                                      กลุ่มพัฒนาอาชีพ

                                                      กลุ่มกองทุนหมู่บ้าน

                                                      กลุ่มเยาวชน

                                                      กลุ่มวิทยุชุมชน

                                                      กองทุนสวัสดิการ

                                                      กลุ่มเกษตรผสมผสาน

                                                      กลุ่มทำนา

                                                      กลุ่มอินทรีและเกษตรทางเลือก

                                                      กลุ่มบ้านจำรุงพอเพียงโฮมสเตย์

                                                      กลุ่มแม่บ้านสายใยรััก

                                                      กลุ่มรวบรวมยางพารา

                                                      กลุ่มเลี้ยงตะพาบน้ำ

                                                      กลุ่มออมทรัพย์

                                                      กลุ่มรวบรวมผลผลิต

                                                      กลุ่มปรับปรุงคุณภาพมังคุด

                                                      กลุ่มกะปิ น้ำปลา

                                                      กลุ่มรัษาความปลอดภัย

                                                      กลุ่มบริกาชมชิมผลไม้

                                                      กลุ่มสามล้อพ่วงข้าง

                                                      กลุ่มขยะแลกบุญ

                                                      กลุ่มผลิตจำหน่ายสินค้าชุมชน

                                                      กลุ่มจักรยานเพื่อสุขภาพ